“ลูกคนนี้ทำไมเรียนไม่ดีเท่าพี่ๆ น้องๆ ” น้ำเสียงของพ่อแม่แสดงอาการผิดหวังในตัวต้อม “ เรามันปัญญาทึบ ” ต้อมคิดด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่โรงเรียน เด็กเก่งเลขครูรักเป็นนักหนา ก=ข และ ข=ค ดังนั้น ก กับ ค เป็นอย่างไรกัน เพื่อนๆ ตอบว่า “ ก ก็เท่ากับ ค ” ครูชมว่าเก่งมาก แต่ต้อมมองไม่เห็นว่าจะเท่ากันได้อย่างไร ถ้า ก. ข. ค. เป็นคนเหมือนเราๆ เขาจะไปเท่ากันได้อย่างไร ? นี่คือความคิดในจินตนาการของต้อม ต้อมมักคิดอะไรเป็นรูปร่าง หาคำพูดมาอธิบายไม่ได้ แต่ต้อมถนัดกีฬา ดนตรี วาดการ์ตูน แต่ทว่ากิจกรรมเหล่านี้ไม่ค่อยมีคะแนนซักเท่าไร ?

 

เด็กเช่นต้อมมีอยู่ทั่วโลก แต่นับเป็นการดีที่สมัยนี้พ่อแม่บางคนเริ่มเข้าใจเด็กๆ และยอมรับว่าเด็กๆ ไม่ถนัดด้านวิชาการ ไม่ได้เป็นเด็กโง่เสมอไป บางคนฉลาดมากเสียด้วยซ้ำไป เพียงแต่ลีลาการเรียนและวีธีย่อยข้อมูลของเขาไม่เหมือนเด็กที่ถนัดใช้สมองซีกซ้ายเท่านั้นเอง ดังนั้นเราควรมารู้จักสมองและหน้าที่ของสมองอย่างคร่าวๆ เพื่อจัดการกับปัญหาการเรียนรู้ของเขาและช่วยเหลือสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่มองมีความลี้ลับมหัศจรรย์ ตัวสมองนั้นแม้ว่ามีขนาดเพียง 3 ปอนด์ (1.5 กก.) และมีเซลล์ประสาทถึง 10,000,000,000 เซลล์ ขนาดของสมองไม่ได้มีผลต่อระดับภูมิปัญญาของมนุษย์ ไอน์สไตน์ มีสมองขนาดใหญ่ แต่คนที่มีสมองขนาดใหญ่ที่สุดในโลกสมองหนึ่งเป็นสมองของคนที่โง่ทึบ สมองผู้ชายใหญ่กว่าผู้หญิง แต่ไม่ได้หมายความว่า ผู้ชายจะฉลาดกว่าผู้หญิง

 

สมองมีทั้งหมด 3 ระดับ
ระดับที่1. สมองส่วนกลางและก้านสมอง ( Midbrain, Train stem) ควบคุมการทำงานอัตโนมัติ เพื่อให้ชีวิตอยู่รอด เช่น ระดับหายใจ ระบบย่อยอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ เป็นต้น
ระดับที่ 2. ระบบลิมบิค ( Limbic system) คือ สมองระดับอารมณ์ ทำให้รู้จักโกรธ กลัว หวงแหน (2 ระดับนี้มีในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังด้วย เราเรียกว่า Old brain )
ระดับที่ 3. สมองใหม่ ( Neo-cortex) ได้แก่ เปลือกสมอง มีเฉพาะในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมและมนุษย์ ซึ่งทั้งหนาและจีบย่น เปลือกสมองแบ่งเป็น 2 ซีก ซ้าย-ขวา มีตัวเชื่อมตรงกลาง คือ คอร์ปัส แคลโลซัม ซึ่งคือทางจราจร ที่ทำให้สมองทั้ง 2 ข้าง ข้ามไปมาสู่กันได้ และเปิดทางให้เราใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งจนเกิดความชำนาญ และขณะเดียวกันก็แจ้งให้อีกซีกได้รับรู้ด้วย เพื่อประสานงานที่สอดคล้องกัน หากขาดส่วนนี้แล้ว สมองแต่ละข้างจะต่างคนต่างเรียนรู้ และไม่รับรู้เรื่องของกันและกัน เหมือนคนแปลกหน้า 2 คน อาศัยอยู่เรือนเดียวกัน

การค้นคว้าวิจัยเรื่องความถนัดของสมองมีผลกระทบสำคัญต่อวิธีการที่เราจะปฏิบัติต่อเด็กๆ สมองทั้งซีกซ้าย-ขวา มีหน้าที่ และความถนัดแตกต่างกัน โดยเชื่อมตรงกลางที่เรียกว่า Corpus Callosum ( คอร์ปัส แคลโลซัม) การทำงานของสมองซีกซ้ายจะสั่งการและควบคุมอวัยวะด้านขวา การทำงานของสมองซีกขวาจะสั่งการควบคุมอวัยวะด้านซ้าย เด็กที่ถนัดซ้ายหมายถึงเด็กที่มีความถนัดในการใช้สมองซีกซ้าย ในทางกลับกัน เด็กที่ถนัดขวาเป็นเด็กที่มีความชำนาญในการใช้สมองซีกซ้าย

brain-2

เด็กในระยะ อายุไม่เกิน 4 ปี ซึ่งเป็นวัยที่มีการพัฒนาของสมองรวดเร็วที่สุด และสมองทั้ง 2 ข้าง ก็ต่างทำหน้าที่ไปในทางเดียวกัน แต่กลับข้างกันเหมือนกระจกเงา ดังนั้นหากสมองเด็กๆ เป็นอะไรในช่วงนี้ สมองอีกด้านสามารถทำหน้าที่แทนได้อย่างปกติ และเมื่อเด็กอายุเกิน 4 ปี สมองแต่ละซีกจะทำงานตามความถนัดของมัน เมื่อเด็กอายุ 5 ปี การทำงานประสานงานตามแนวขวาง ( lateral integration) ก็เริ่มขึ้น โดยผ่านเส้นประสาทสัมผัส Corpus Callosum หรือทางการจราจรของสองข้างที่เริ่มเชื่อมสนิทกัน


เราใช้สมองซีกใดเป็นใหญ่ ยังไม่สำคัญเท่าได้ใช้สมองทั้ง 2 ข้าง อย่างสอดคล้อง นั่นนับว่าเราได้ใช้สมองอย่างคุ้มค่า เต็มศักยภาพ ในฐานะพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู จึงควรรู้และเข้าใจว่าเด็กๆ ถนัดสมองซีกใดและจะพัฒนาเขาให้ใช้สมองทั้ง 2 ข้างอย่างสอดคล้องได้อย่างไร ?

หนังสืออ้างอิง : 1. Unicom are real ( จินตนาการสู่การเรียนรู้) และ Free Flight ( จากศักยภาพสู่อิสรภาพ) ของ Mrs. Barbara Meister ปริญญา ตรี และปริญญาโท ด้านเด็กปฐมวัย ความบกพร่องทางการเรียนรู้ และบริหารการศึกษา


Contact

8/7 ถ.สุขุมวิท 71 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 26
แขวงพระโขนงเหนือ  เขตวัฒนา 
กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ : 02-0025072,089-6752772
E-mail : [email protected]

Follow